รับซื้อเพชร

ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีกำจัดเหา  (อ่าน 258 ครั้ง)

มิถุนายน 24, 2020, 12:44:05 pm

วิธีกำจัดเหา
หลักในการรักษาการติดเหา คือ การรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่เป็นเหาไปพร้อม ๆ กัน ร่วมไปกับการควบคุมกำจัดเหาที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันการแพร่สู่ผู้อื่นและการกลับมาติดเหาซ้ำอีก  การรักษาเหาที่ศีรษะ ให้ใช้ยาฆ่าตัวเหาร่วมไปกับการกำจัดเหาด้วยวิธีทางกายภาพ เช่น เบนซิลเบนโซเอต  ชนิด 25% มีทั้งในรูปแบบครีมและโลชั่น ใช้ชโลมให้ทั่วศีรษะและโพกผ้าทิ้งไว้ประมาณ 12-20 ชั่วโมง แล้วจึงสระให้สะอาด ซึ่งวิธีที่สะดวกคือ ให้ใส่ยาตอนเย็นแล้วทิ้งไว้ค้างคืน หลังจากนั้นให้สระผมให้สะอาด พร้อมทั้งใช้หวีเสนียดสางเอาไข่เหาออกมา และให้ทำซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา เพราะเป็นระยะที่ไข่เหาหลงเหลืออยู่ (ซึ่งยังไม่ถูกฆ่าด้วยยาดังกล่าว) จะฟักตัวอีกครั้งหนึ่ง ยาชนิดนี้พบว่ามีประสิทธิภาพดีในการรักษา แต่พบอาการระคายเคืองบนหนังศีรษะได้บ่อย ในกรณีที่ใช้แล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป  มาลาไทออน  ใช้แชมพูทาลงบนผมและหนังศีรษะที่แห้งโดยทั่วแล้วขยี้ให้เกิดฟอง โดยเน้นบริเวณเหนือใบหูและที่ท้ายทอย หลังจากนั้นให้ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที แล้วจึงล้างแชมพูและฟองออก และให้ทำซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา ยาชนิดนี้พบว่ามีประสิทธิภาพดีและมีความปลอดภัยอยู่ในระดับที่น่าพอใจ สามารถใช้ได้ในผู้ใหญ่ เด็ก และทารกตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป  เพอร์เมทริน  มีอยู่ 3 รูปแบบ คือ แบบครีม โลชั่น และแชมพู ก่อนทายาให้สระผมเพื่อชำระล้างคราบฝุ่นสิ่งสกปรกออกก่อน เช็ดผมให้แห้ง แล้วใช้เพอร์เมทรินโลชั่นหรือแชมพูในขนาดที่พอเหมาะกับผม ทาลงบนหนังศีรษะและผมให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที จากนั้นให้สระผมล้างน้ำยาออกให้หมด แล้วจึงหวีผมด้วยหวีเสนียด และให้ทำซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา หากการใช้ยานี้มีอาการแพ้ยา เช่น มีผื่นคันขึ้นตามร่างกาย ไม่แนะนำให้ทาหรือใช้ยาซ้ำ แต่ควรไปพบแพทย์  ลินเดน  มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ แบบครีมและแบบโลชั่น ใช้ชโลมบนศีรษะที่แห้งและทิ้งค้างคืนไว้ประมาณ 8-10 ชั่วโมงก่อนที่จะล้างออก และให้ทำซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา ยาชนิดนี้พบว่ามีประสิทธิภาพดีในการรักษา พิษของยาต่ำมากถ้าใช้อย่างถูกต้องและถูกวิธีตามฉลากกำกับยา แต่ถ้าใช้ยามากเกินไปหรือใช้ผิดวิธีก็สามารถทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทได้  สปินโนแซด (Spinosad) หรือ Natroba™ เป็นสารเคมีที่ใช้สำหรับกำจัดเพลี้ยไฟเป็นหลัก แต่ถูกนำมาใช้เป็นยากำจัดเหาในมนุษย์ด้วย และทางองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ก็ให้การรับรองแล้วว่าสามารถใช้รักษาเหาบนหนังศีรษะมนุษย์ได้ยาฆ่าเหา  นอกจากนี้ยังมียาในรูปแบบรับประทานที่ต้องรับประทานซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมาเช่นกัน แต่ยาแบบรับประทานจะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้มากกว่า จึงไม่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรก หวีเสนียด อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า แม้ยาทุกชนิดที่กล่าวมาจะฆ่าตัวเหาได้ แต่ก็ไม่สามารถฆ่าไข่เหาได้ ดังนั้น นอกจากจะต้องใช้ยาซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมาแล้ว ทางที่ดียังควรกำจัดไข่เหาด้วยการใช้หวีซี่ถี่หรือหวีเสนียดควบคู่ไปด้วย โดยการนำหวีเสนียดมาจุ่มในน้ำร้อนผสมน้ำส้มสายชูแล้วใช้สางผมทุกวัน หรือใช้หวีเสนียดสางผมทุกครั้งหลังจากใช้ยาฆ่าเหาไปแล้ว เพื่อช่วยกำจัดเหาที่อาจรอดชีวิตและกำจัดไข่เหาได้ (ขั้นตอนการหวีให้แบ่งผมออกเป็นช่อ ๆ สางผมโดยเริ่มจากหนังศีรษะมาจนสุดที่ปลายเส้นผม แล้วหวดหวีลงในน้ำร้อนผสมน้ำส้มสายชู จากนั้นให้หวีผมไปเรื่อย ๆ ทีละช่อจนหมดทั้งหัว และทำความสะอาดหวีโดยการใส่ลงไปในถ้วยที่มีน้ำร้อนจัดทุกครั้งหลังใช้เสร็จ) ส่วนอีกวิธีที่จะช่วยเอาตัวเหาและไข่เหาออกได้ง่ายขึ้นนั้น คือให้นำน้ำส้มสายชูมาผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1:1 ใช้หมักลงบนหนังศีรษะและเส้นผม ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที แล้วจึงใช้หวีเสนียดสางเอาตัวเหาและไข่เหาออก โดยควรสางผมในขณะเปียกและควรซ้ำทุก 2-3 วัน (ซึ่งการใช้วิธีนี้ จากการศึกษาพบว่า หากทำทุก ๆ 2-3 วัน เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยไม่ได้ใช้ยาฆ่าเหาร่วมด้วย พบว่าจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดเหาได้ดีพอ ๆ กับการใช้ยาฆ่าร่วมกับการใช้หวีเสนียด) การเอาตัวเหาและไข่เหาออกจากเส้นผมและหนังศีรษะโดยวิธีการแปรงออกหรือเป่าลมแรงออก สามารถช่วยลดจำนวนของไข่เหาและตัวเหาบนหนังศีรษะได้ดี แต่อาจไม่เพียงพอในการรักษา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยาร่วมด้วย  ยังมีสารอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคนี้ แต่ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ดีเพียงพอว่ามีประสิทธิภาพ เช่น น้ำมันพืช, น้ำมันมะพร้าว, น้ำมันสะเดา, น้ำมันใส่ผม, ปิโตรเลียมเจลลี่ ฯลฯ (ให้ใช้ร่วมกับหวีเสนียด) ซึ่งสารดังกล่าวอาจล้างออกยากและอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ได้ นอกจากนี้ยังมีน้ำมันหอมระเหยบางอย่างที่ช่วยขับไล่เหาได้ เช่น ทีทรีออยล์, ลาเวนเดอร์, ออริกาโน, เปปเปอร์มินต์, ยูคาลิปตัส, ไธม์ ฯลฯ (ให้ใช้น้ำมันหอมระเหย 5 หยดต่อน้ำ 30 มิลลิลิตร) หากใช้วิธีเหล่านี้แล้วยังไม่สามารถกำจัดเหาได้ การโกนผมจะช่วยได้  ถ้ามีตุ่มฝีหรือพุพองเกิดขึ้น แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะ เช่น ไดคล็อกซาซิลลิน  หรืออิริโทรมัยซิน  นาน 10 วัน
การรักษาเหาที่ลำตัว การรักษาความสะอาดของเสื้อผ้าและที่นอนเป็นปัจจัยสำคัญของการรักษาเหาที่ลำตัว เนื่องจากเหาชนิดนี้ไม่ได้อาศัยอยู่บนเส้นขนของคน แต่อาศัยอยู่บนเสื้อผ้า ดังนั้น การอาบน้ำ เปลี่ยนผ้าเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า เปลี่ยนผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม ปลอกหมอน ก็สามารถกำจัดเหาชนิดนี้ได้แล้ว แต่หากยังต้องการใช้เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ฯลฯ ตัวเดิม ก็ต้องนำไปซักและแช่ในน้ำร้อนที่อุณหภูมิมากกว่า 55 องศาเซลเซียสเป็นเวลานานกว่า 5 นาที ซึ่งจะช่วยทำให้ตัวเหาและไข่เหาตายได้ แต่อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วเหาชนิดนี้มักพบได้ในผู้เร่ร่อน ผู้อพยพ การรักษาความสะอาดจึงอาจเป็นไปได้ยาก ซึ่งการใช้ยาในรูปแบบกินกับกลุ่มคนเหล่านี้อาจช่วยกำจัดเหาได้สะดวกกว่า การรักษาเหาที่อวัยวะเพศ (โลน) การรักษาให้ใช้ยาฆ่าเหาแบบเดียวกับการรักษาเหาที่ศีรษะ โดยให้ซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมา ร่วมกับการกำจัดเหาออกด้วยวิธีทางกายภาพ สำหรับเบนซิลเบนโซเอต  ให้ใส่ยาบริเวณที่เป็นโลน ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง แล้วจึงสระให้สะอาด เมื่อครบ 1 อาทิตย์ ก็ให้ใส่ยาซ้ำอีกครั้ง ส่วนเพอร์เมทริน ) ก่อนใช้ให้เช็ดหรือล้างทำความสะอาดบริเวณผิวหนังที่อวัยวะเพศให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง (อาจจำเป็นต้องโกนขนที่อวัยวะเพศออกด้วย) โดยให้ใช้เพอร์เมทรินในรูปแบบโลชั่นหรือครีมในขนาดที่พอเหมาะกับขนบริเวณนั้น ใช้ชโลมหรือทาผิวบริเวณที่เป็นโลน ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างน้ำออกให้หมด ทั้งนี้โรคมักจะหายจากการใช้ยาเพียงครั้งเดียว การรักษาให้ทำร่วมกับการกำจัดเหาออกด้วยวิธีทางกายภาพ เช่น ใช้แหนบคีบออก การสางออกด้วยหวีเสนียด หรือใช้วิธีการโกนขนให้เตียนทั้งที่อวัยวะเพศ ขนรอบก้น ขนรักแร้ ขนหน้าท้อง และขนหน้าอกออก หากมีเหาที่ขนคิ้วหรือขนตา ไม่ควรใช้ยาฆ่าเหาแบบเดียวกับการใช้ที่ศีรษะ เนื่องจากเป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางเคมีในการฆ่าเหาด้วยการไปทำลายระบบประสาทของมัน การใช้ยาบริเวณนี้จึงอาจเกิดอันตรายต่อดวงตาได้ แต่ให้ใช้สารเคมีที่ออกฤทธิ์ทางกายภาพแทน คือสารเคมีที่มีความหนืด ซึ่งจะไปช่วยในการขัดขวางการหายใจและทำให้ตัวเหาตายได้ เช่น ปิโตรเลียมเจลลี่, น้ำมันมะกอก หรืออาจใช้เป็นตัวยาสำเร็จรูป เช่น Benzyl alcohol lotion ซึ่งการใช้สารเคมีในกลุ่มนี้จะต้องใช้ซ้ำอีกครั้งในอีก 1 สัปดาห์ต่อมาเช่นกัน เนื่องจากไม่สามารถกำจัดไข่เหาได้ นอกจากนี้ควรใช้ร่วมกับวิธีทางกายภาพอื่น ๆ ด้วย อย่างเช่นการใช้แหนบคีบออก สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องรักษาคู่นอนของตนไปพร้อม ๆ กัน เนื่องจากเหาชนิดนี้ติดมาจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก และหากเป็นครอบครัวที่มีลูกนอนอยู่ด้วยกับพ่อแม่ที่เป็นเหาชนิดนี้แล้ว ก็ต้องรักษาเด็ก ๆ ไปพร้อมกันด้วย สมุนไพรกำจัดเหา (โดยเฉพาะกับเหาที่ศีรษะ) สามารถใช้สมุนไพรในการรักษาได้ เช่น
สนับสนุนบทความโดย psthai888
เว็บ [censored]ออนไลน์ ที่ดีที่สุด
กฤษณา  ใช้ผงไม้กฤษณานำมาโรยลงบนเสื้อผ้าหรือบนร่างกายจะช่วยฆ่าหมัดและเหา
กระดึงช้างเผือก  ใช้ส่วนของเถาเป็นยาฆ่าเหา
กระทิง  น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาฆ่าเหา
คำมอกหลวง  เมล็ดนำมาต้มเคี่ยวกับน้ำใช้ผสมเป็นยาฆ่าเหา
ชุมเห็ดไทย  ในประเทศอินเดียจะใช้เมล็ดและใบเป็นยาฆ่าหิดเหา
ตีนเป็ดน้ำ  น้ำมันจากเมล็ดใช้ใส่ผมเป็นยาแก้เหา โดยใช้ส่วนผสมของเมล็ดตีนเป็ดน้ำกับน้ำในอัตราส่วน 1:1 ใช้ชโลมผมทิ้งไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง จะทำให้เหาทั้งหมดตายและไข่ฝ่อทั้งหมด (มีข้อมูลระบุว่าเมล็ดจากลูกตีนเป็ดน้ำจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดเหาดีกว่ายาฆ่าเหาที่ใช้สารเคมีที่มีวางขายตามท้องตลาด และมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้ใบน้อยหน่า เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการชโลมผมน้อยกว่า อีกทั้งยังมีความปลอดภัยมากกว่าอีกด้วย)เทียนสัตตบุษย์  ใช้น้ำมันจากเมล็ดเป็นยาฆ่าแมลงต่าง ๆ เช่น หมัด เหา น้อยหน่า ใบน้อยหน่ากําจัดเหา ใช้ใบสดประมาณ 4 ใบนำมาตำผสมกับเหล้าขาว แล้วเอาน้ำที่ได้มาชโลมให้ทั่วศีรษะ แล้วใช้ผ้าคลุมไว้ประมาณ 10 นาที แล้วใช้หวีสางออก (หรือจะใช้แค่น้ำคั้นจากใบอย่างเดียวก็ได้) หรืออีกวิธีให้นำเมล็ดมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมะพร้าวในอัตราส่วน 1 ต่อ 2 ใช้ชโลมทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วล้างออก โดยให้ทำซ้ำทุกสัปดาห์จนกว่าเหาจะหาย แต่ต้องระวังอย่าให้น้ำยาเข้าตา เพราะอาจทำให้เยื่อตาขาวอักเสบได้ หากมีผลข้างเคียงดังกล่าว ผู้ป่วยควรใช้ยาหยอดตาที่เข้าสเตียรอยด์ในการรักษา
น้อยโหน่ง ใบนำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้เป็นยาฆ่าเหา
บวบขม ตำรายาไทยจะใช้ผลสดเป็นยาพอกศีรษะฆ่าเหา โดยนำมาขยี้ฟอกศีรษะเส้นผมหลังสระผม หมักทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วค่อยล้างน้ำออก โดยให้ฟอกทุกครั้งหลังสระผม
ฝิ่นต้น  ใช้ใบเป็นยาสระผมแก้เหา
ฟักข้าว  ใช้รากแช่น้ำสระผมเป็นยาฆ่าเหา
มะกรูด  ให้เอาผลที่แก่จัดไปเผาไฟหรือย่างไฟให้สุก ทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นให้นำมาคลึงให้มีน้ำมาก ๆ แล้วผ่าครึ่ง บีบน้ำลงบนหัวพร้อมกับขยี้ให้ทั่ว แล้วใช้หวีเสนียดค่อย ๆ สางเส้นผมเพื่อกำจัดไข่เหาออก โดยให้ทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 ครั้ง
มะขาม  ให้นำมะขามเปียกมาผสมกับน้ำแล้วใช้มือคั้นเนื้อมะขามเพื่อให้ละลายออกผสมกับน้ำ น้ำที่ได้นั้นจะมีลักษณะเหลว (ไม่ควรเหลวมาก) แล้วนำมานวดศีรษะหลังจากที่สระผมเสร็จแล้วทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีแล้วล้างออก
มะคำดีควาย  ใช้เนื้อผล 1 ผล นำมาตีกับน้ำจนเกิดเป็นฟอง แล้วใช้สระผมวันละ 1 ครั้ง จนกว่าจะหาย
มะตูม  ให้นำผลสุกมาผ่า แล้วเอายางจากผลมาใช้ทาผม แล้วหวีให้ทั่ว ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง เหาจะตายหมด แล้วให้ล้างน้ำและหวีออก
ยอ ใบสดมีการนำมาใช้สระผมและกำจัดเหา หรือจะใช้น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอก็ได้
ยอเถื่อน ใบสดใช้ตำพอกศีรษะช่วยฆ่าไข่เหา
ยอป่า  ใบสดใช้ตำพอกศีรษะเป็นยาฆ่าเหา
ยาสูบ ให้ใช้ใบยาสูบแก่ที่ตากแห้งแล้ว 1 หยิบมือ นำมาผสมกับน้ำมันก๊าดประมาณ 3-4 ช้อนแกง แล้วใช้ชโลมทั้งน้ำและยาเส้นลงบนผมทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วสระออกให้สะอาด โดยให้ทำติดต่อกันประมาณ 3-4 วัน
เลี่ยน  เปลือกต้น ดอก และผลมีสรรพคุณเป็นยาฆ่าเหา
ลำโพงกาสลัก น้ำมันจากเมล็ดมีรสเมาเบื่อ ใช้ปรุงเป็นยาฆ่าเหา
ลำโพง น้ำมันจากเมล็ดมีฤทธิ์ฆ่าเหา
สะเดา ให้ใช้ใบแก่นำมาโขลกผสมกับน้ำ แล้วนำไปทาให้ทั่วหัวและใช้ผ้าหรือถุงพลาสติกคลุมหัวไว้ด้วย ปล่อยทิ้งไว้สักพัก จะทำให้ไข่เหาฝ่อ และฆ่าเหาให้ตายได้
เสม็ด  ใบและเปลือกเมื่อนำมาตำรวมกันใช้เป็นยาทาฆ่าเหา
หมี่  ใบสดใช้เป็นยาพอกศีรษะเพื่อฆ่าเหา
หนอนตายหยากเล็ก ตำรายาไทยจะใช้รากนำมาทุบหรือตำผสมกับน้ำหรือหมักกับน้ำแล้วเอาน้ำมาพอกทาฆ่าเหา
หวดหม่อน  ใบใช้ตำพอกฆ่าหิดและเหา
หญ้าดอกขาว  เมล็ดมีรสเฝื่อน ใช้ตำพอกช่วยกำจัดเหา
หญ้าแส้ม้า ใบนำมาคั้นเอาน้ำทาหรือพอก หรือต้มกับน้ำอาบ สระผม ช่วยกำจัดเหา โลน
หางไหลขาว  รากใช้ผสมกับสบู่และน้ำสำหรับใช้ฆ่าหิดและเหา
หางไหลแดง  ใช้เถาสดยาวประมาณ 2-3 นิ้วฟุต นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันพืช ใช้ชโลมบนเส้นผมทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วสระออกให้สะอาด โดยให้สระติดต่อกัน 2-3 วัน
คำแนะนำในการดูแลตนเองในเบื้องต้น คือ
ควรป้องกันการแพร่เหาสู่ผู้อื่น ด้วยการรักษาเหาของตนเองให้หาย และกำจัดเหาที่อาจหลงเหลืออยู่ในสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองกลับมาเป็นเหาซ้ำอีก
ถ้ามีคนในบ้านหรือในชั้นเรียนเป็นเหาหลายคน ควรรักษาทุกคนไปพร้อม ๆ กัน เพื่อป้องกันการติดเหาจากคนข้างเคียงซ้ำอีก
ผู้ป่วยควรแยกนอนต่างหากและไม่คลุกคลีกับผู้อื่น
ไม่ควรใช้ของส่วนตัวต่าง ๆ เช่น หวี ที่มัดผม หมวก ฯลฯ ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะเด็ก พ่อแม่หรือคุณครูควรเน้นย้ำสอนให้เด็ก ๆ ฟังอยู่เสมอ
ควรนำที่นอนและหมอนออกไปผึ่งแดดทุกวัน
พยายามอย่าเกา ถึงแม้จะมีอาการคันแค่ไหนก็ตาม
การซื้อยาฆ่าเหามาใช้เอง ควรได้รับคำแนะนำในการใช้จากเภสัชกรก่อนเสมอ เพราะยาแต่ละชนิดอาจมีวิธีการใช้ไม่เหมือนกัน แต่ไม่ว่าจะเป็นยาแบบใด ที่สำคัญคือ ต้องใช้ซ้ำ 2 ครั้ง ตามเหตุผลที่กล่าวมา สำหรับเด็กและหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง แต่ควรไปพบแพทย์
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่าเหาเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้มีฐานะยากจนหรือผู้เร่ร่อนที่ไม่ดูแลตนเอง ผู้ที่เป็นเหาจึงไม่กล้าบอกคนอื่น เพราะกลัวจะโดนรังเกียจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่กลัวโดนเพื่อนล้อ จึงทำให้ไม่ยอมไปรักษา ส่วนพ่อแม่ของเด็กเองก็อาจอายที่จะบอกว่าลูกตัวเองเป็นเหา จึงอาจพยายามปกปิด ทำให้การควบคุมการแพร่กระจายของเหาในโรงเรียนหรือในชุมชนทำได้ยาก แต่อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเหาส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะเหาที่ศีรษะ ยกเว้นเหาที่ลำตัว) ไม่ได้เกี่ยวข้องกับฐานะหรือความสกปรกแต่อย่างใด ผู้ใหญ่และเด็กทุกคนควรทำความเข้าใจถึงเรื่องนี้และช่วยกำจัดเหาให้หมดไป หรือทางโรงเรียนอาจกำหนดหน้าที่ให้พยาบาลประจำห้องพยาบาลมีหน้าที่ตรวจหาเหาให้เด็ก ๆ ทุกคนเดือนละครั้งก็ได้ หากพบว่ามีเด็กคนใดเป็นเหาก็อาจต้องให้หยุดเรียนไปก่อนชั่วคราว รวมถึงจัดการให้การรักษาพร้อมกับเดินทางไปสำรวจบ้านของนักเรียนว่ามีใครเป็นเหาอีกบ้าง ซึ่งจะได้ให้คำแนะนำในการรักษาและการกำจัดเหาภายในบ้านไปพร้อมกันในคราวเดียว


 

สถานที่รับซื้อเพชร | ตั้งชื่อ | รับซื้อเพชร | รับซื้อทองเชียงราย | ช่างประตูม้วน | รับซื้อทอง | เครื่องถ่วงล้อ | รับซื้อเพชร