รับซื้อเพชร

ผู้เขียน หัวข้อ: ทําไมเราต้องมีศาสนา? ในทางสังคมการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน  (อ่าน 286 ครั้ง)

มีนาคม 07, 2021, 10:47:54 am
  • จอมพล
  • ************
  • กระทู้: 3805
  • คะแนนโหวต: 0

โลกวิปัตติสูตร โลกธรรม ๘อาทิตตปริยายสูตรอนัตตลักขณสูตรธัมมจักกัปปวัตตนสูตรทําไมเราต้องมีศาสนาคิดดี พูดดี ทำดี เป็นไฉนจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูปความทุกข์ ความดับทุกข์พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานวิมุตติจิต จิตตื่นรู้ พ้นจากอวิชชาสมมุติทั้งปวง
หากเราไม่รู้ไม่เข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม หากเราไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม กฎแห่งกรรมจะไม่สามารถให้ผลกับเราได้อย่างนั้นจริงเหรอ?

กฎแห่งกรรม กฎแห่งการกระทำ เป็นกฎแห่งเหตุและผล เป็นกฎของธรรมชาติ ซึ่งมันเป็นอยู่ มีอยู่ ดำเนินไปอยู่ อย่างนั้นๆ ตลอดเวลาที่เรากระทำสิ่งใดๆ ทั้งทางด้านกาย วาจา ใจ

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ผลของกรรมบางอย่างปรากฏในปัจจุบันทันตาเห็น บางอย่างเห็นผลตอนตายไปแล้ว ไม่มีข้อยกเว้นให้กับใครๆ ไม่จำกัดเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใดก็ตามในโลก

เราอาจจะเคยฟังเรื่องเล่าต่างๆ มามากมายเกี่ยวกับเรื่องกรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคนอื่นหรือเราอาจจะเห็นมันกับตัวเราเองก็เป็นได้ หากเรารู้จักสังเกต เราไม่อาจจะปฏิเสธสิ่งเหล่านั้นว่าไม่มีอยู่จริง

บางครั้งเราอาจจะสงสัยและเคยได้ยินได้ฟังคำนี้มา "ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป" นั่นเป็นเพราะผลแห่งกรรมยังไม่ได้ให้ผลทันทีหรือในภพชาตินั้นๆ

  เหตุที่คนคิดว่าทำดีไม่ได้ดี
มีคนบางคนที่ทำกรรมชั่ว แต่กลับปรากฏว่าเป็นคนร่ำรวย มีอำนาจวาสนา มีคนเคารพยกย่อง ส่วนคนบางคนทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขยันขันแข็ง กลับยากจน มีชีวิตอยู่ด้วยความยากลำบาก หรือคนบางคนไม่ค่อยทำงานอะไร คอยประจบสอพลอและรับใช้เจ้านาย กลับได้ดี ได้เลื่อนเงินเดือนและตำแหน่ง ส่วนคนบางคนตั้งใจทำงานแต่ไม่ประจบเจ้านาย ไม่ค่อยรับใช้คุณหญิงคุณนายของเจ้านาย กลับไม่ได้ดี จึงทำให้คนคิดไปว่ากฎแห่งกรรมจะไม่จริง คำสั่งสอนที่ว่า กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
คงจะไม่เป็นความจริงเสียแล้ว การที่บางคนเห็นว่าทำดีไม่ได้ดี หรือทำชั่วไม่ได้ชั่ว เนื่องจากไม่เข้าใจ ๒ ประการ

 ประการแรก ไม่เข้าใจในเรื่องการให้ผลของกรรม
 ประการสอง ไม่เข้าใจในความหมายของคำว่าได้ดีและได้ชั่ว
การให้ผลของกรรม
การให้ผลของกรรมมีสองชั้น คือ การให้ผลของกรรมชั้นธรรมดาอย่างหนึ่ง และการให้ผลของกรรมในชั้นศีลธรรมอีกอย่างหนึ่ง การให้ผลของกรรมชั้นธรรมดา เป็นการให้ผลโดยไม่คำนึงถึงว่าถูกหลังความชอบธรรมหรือไม่ เช่นนาย ก. โกงเงินหลวง หรือขโมยทรัพย์มา นาย ก. ก็จะได้เงินนั้นมา และถ้านาย ก. ใช้เงินซื้อบ้าน นาย ก. ก็จะได้อยู่บ้านนั้น นี่เป็นการให้ผลของกรรมชั้นธรรมดา แต่การให้ผลของกรรมหาได้หยุดอยู่เพียงเท่านั้นไม่ กรรมที่ทำลงไปยังจะให้ผลในชั้นศีลธรรมอีก คือ ถ้าทำดีจะต้องได้รับผลดีอย่างแน่นอน และถ้าทำชั่วก็จะต้องได้รับผลชั่วอย่างหลีกไม่พ้น

กรรมบางอย่างอาจจะให้ผลในชาตินี้ เรียกว่า ทิฎฐธรรมเวทนียกรรม กรรมบางอย่างอาจจะให้ผลในชาติหน้า ที่เรียกว่า อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมบางอย่างอาจจะให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป ที่เรียกว่า อปราปรเวทนียกรรม

การปลูกพืชหรือต้นไม้ ไม่ใช่พอวางเมล็ดลงไปในดิน พืชหรือต้นไม้จะขึ้นและให้ผลทันที พืชบางอย่างก็ให้ผลเร็ว พืชบางอย่างก็ให้ผลช้าเป็นปี ๆ เช่นข้าว เพียง ๔-๕ เดือนก็ให้ผล แต่ต้นมะพร้าวหรือทุเรียน กว่าจะให้ผลก็ใช้เวลาถึง ๕ ปี

การที่คนทำความชั่วยังได้ดีมีสุขอยู่ จึงเป็นเพราะกรรมชั่วยังไม่ให้ผล กรรมดีที่เขาเคยทำยังเป็น อุปัตถัมภกกรรม คอยสนับสนุนอยู่ เมื่อใดที่กรรมดีอ่อนกำลังลง กรรมชั่วก็จะมาเป็น อุปฆาตกรรม ทำให้ผู้นั้นต้องเปลี่ยนสภาพไปอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เช่นเศรษฐีอาจจะต้องเป็นยาจก เคยเป็นผู้ยิ่งใหญ่มีอำนาจวาสนา อาจจะถูกฟ้องร้องต้องโทษจำคุก หรือต้องเที่ยวหลบหนีเร่ร่อนไม่มีแผ่นดินจะอยู่

คนที่ไม่เชื่อเรื่องของกรรม มักจะมองเห็นผลของกรรมชั้นธรรมดา เป็นผู้มีสายตามืดมัว มองไม่เห็นการให้ผลของกรรมชั้นศีลธรรม บุคคลเหล่านี้มักจะเป็นคนไม่เชื่อในเรื่องตายแล้วเกิด คิดว่าคนเราเกิดมาเพียงชาตินี้ชาติเดียว ก็สิ้นสุดลง คนพวกนี้เมื่อทำความชั่วและความชั่วยังไม่ให้ผลก็คิดว่าตนเป็นคนฉลาด ดูถูกพวกที่เชื่อเรื่องกรรมว่าเป็นคนโง่ งมงาย คนพวกนี้เหมือนคนที่กินขนมเจือยาพิษ ตราบใดที่ยาพิษยังไม่ให้ผลก็คิดว่าขนมนั้นเอร็ดอร่อย สมตามพุทธภาษิตที่ว่า มธุวา มญฺญติ พาโล ยาว ปาปํ น มุจฺจติ
คนโง่ย่อมจะเห็นบาปเป็นน้ำผึ้ง ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล

 การให้ผลของกรรม อาจแบ่งเป็นการให้ผลทางจิตใจ และการให้ผลทางวัตถุ
การให้ผลทางจิตใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ทำโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่น เมื่อทำไปแล้วก็ได้รับผลทันที คือเมื่อทำกรรมดี ก็จะได้รับความสุขความปีติ แต่ถ้าทำกรรมชั่ว ก็จะทำให้จิตใจเศร้าหมอง เป็นทุกข์ ส่วนการให้ผลทางวัตถุเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับผู้อื่น จะทำให้ได้ดียากมาก

 ความหมายของคำว่าได้ดีและได้ชั่ว ในทางโลกและทางธรรม มีความหมายแตกต่างกัน
ในทางโลก มักจะมองเห็น การได้ดีและได้ชั่วเป็นเรื่องทางวัตถุ เมื่อกล่าวว่าคนนั้นได้ดีก็มักจะหมายความว่า ผู้นั้นได้ลาภและยศ เช่นได้ทรัพย์สมบัติ ได้อำนาจวาสนา หรือได้ตำแหน่งหน้าที่การงานดีขึ้น เมื่อไม่ได้สิ่งเหล่านี้ก็เข้าใจว่าไม่ได้ดี

ในทางธรรม การได้ดีหรือได้ชั่วเป็นเรื่องของจิตใจ การได้ดีหมายถึง การทำให้จิตใจดีขึ้น ทำให้ธาตุแห่งความดีในตัวเองเรามีมากขึ้น ทำให้จิตใจของเราสะอาด สว่าง สงบยิ่งขึ้น ส่วนการได้ชั่ว หมายถึงการทำให้จิตใจต่ำลง เลวลง ทำให้จิตใจมืดมัวยิ่งขึ้น คำว่าได้ดีจึงความถึงความดี และคำว่าได้ชั่ว จึงหมายถึงความชั่ว หากเราจะพูดว่า ทำดีได้ความดี ทำชั่วได้ความชั่ว ก็จะทำให้เข้าใจในเรื่องได้ดีและได้ชั่วดีขึ้น

บุคคลที่กระทำกรรมอะไรลงไป ย่อมจะได้รับผลในทางจิตใจทันที เมื่อทำกรรมดี เช่น ทำบุญตักบาตร ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น ก็จะทำให้จิตใจดีขึ้น มีความปีติ และความสุขในกรรมดีที่ตนทำ ในเมื่อกรรมที่ทำเป็นกุศลกรรมจริง ๆ คือทำด้วยจิตใจที่เป็นกุศล ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ใช่ด้วยความโลภหรือด้วยอกุศลเจตนา หรือหวังผลตอบแทน อ่านต่อ กรรม

 ทําไมเราต้องมีศาสนา?
 ในทางสังคมการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน
หากเราไม่มีศาสนาที่มีข้อปฏิบัติ ข้อยึดเหนี่ยวจิตใจ เราจะกลายเป็นผู้ที่ทำอะไรลงไปโดยไม่รู้ผลที่จะตามมานั้น ว่าควรทำหรือไม่ควรทำลงไป อย่างเช่นใน ศาสนาพุทธ ที่มีคนนิยมนับถือมากที่สุดในโลก ซึ่งมีข้อปฏิบัติ เช่นศีล เริ่มต้นที่ ศีล ๕ สำหรับคนทั่วไป

 ศีล ๕

  • ห้ามฆ่าสัตว์ รวมถึงการทำร้ายสัตว์ ข้อนี้รวมทั้งมนุษย์อย่างเราและสัตว์ต่างๆ อีกด้วย สังเกตง่ายๆ ชีวิตใคร ใครก็รัก เราเองก็รักชีวิตเรา แม้กระทั่งสัตว์เอง มันก็รักชีวิตของมัน เราไม่เคยเห็นสัตว์ตัวใดที่ไม่กลัวตาย ที่พร้อมใจถูกฆ่าเลยไหม ไม่มีนะ มีแต่สัตว์ที่พยายามหนีการถูกทำร้ายและฆ่ามัน (ห้ามฆ่าสัตว์ทุกชนิด มีเฉพาะในศาสนาพุทธ)
  • ห้ามลักทรัพย์ ทรัพย์สินต่างๆ ไม่ว่าเป็นของใครคนนั้นย่อมหวงแหน แน่นอนไม่มีใครอยากสูญเสียทรัพย์สินไปแน่นอน
  • ห้ามประพฤติผิดในกาม คงไม่มีใครอยากที่จะให้คนรักนอกใจหรือมีชู้เป็นแน่นอน และการบังคับข่มขืนโดยไม่สมยอมจากผู้ที่มิใช่สามีภรรยาตน
  • ห้ามพูดเท็จ หากการพูดของเราต้องทำให้คนอื่นเดือดร้อน เช่น ให้การเท็จในศาล ซึ่งจะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เราเองก็คงไม่ต้องการเดือดร้อนหากมีใครมาใส่ร้ายเราเองเช่นกัน
  • ห้ามดื่มสุราของมึนเมา เพราะหากเราครองสติสัมปชัญญะตัวเองไม่ได้แล้วนั้น เราอาจจะทำผิดพลาดในศีลข้อที่ ๑-๔ ก็เป็นได้ เพราะความมึนเมา ทำให้เราไม่สามารถแยกแยะผิดถูกชั่วดีได้
หากเราลองสังเกตให้ดีในสังคมเรา ล้วนมีปัญหามาจากการทำผิดศีลเหล่านี้ทั้งนั้น หากเราทุกคนมีศีล มีข้อปฏิบัติที่ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันแล้วนั้น สังคมของเราจะอยู่กันอย่างมีความสุข ปรองดองซึ่งกันและกันแน่นอน ในทางหลักธรรมกฎแห่งกรรม
การผิดศีล ๕ เมื่อเราตายจากโลกนี้ไปแล้วนั้น จะนำพาให้เราไปสู่อบายภูมิ คือ ภพภูมิที่ มีแต่ความทุกข์ ความเดือดร้อน อบายภูมิ ๔ ๑.สัตว์เดรัจฉาน ๒.เปรต ๓.อสูรกาย ๔.สัตว์นรก ซึ่งต้องรับโทษเป็นเวลานานและถูกทรมานตลอดเวลา

ในทางกลับกัน ผู้ที่รักษา ศีล ๕ ได้นั้น จะนำพาไปสู่ภพภูมิที่มีแต่ความสุข เช่น สวรรค์ชั้นต่างๆ ๖ ชั้น ๑.จตุมหาราชิกา ๒.ดาวดึงส์ ๓.ยามา ๔.ดุสิต ๕.นิมมานรตี ๖.ปรนิมมิตวสวัตตี ได้เสวยสุขอยู่เป็นเวลานานตามกำลังที่เรารักษาศีลนั้นๆ เอาไว้ได้

  ในทางที่เป็นเป้าหมายสูงสุด
ศาสนาพุทธของเรานั้นมีเป้าหมายสูงสุด คือ นิพพาน การพ้นทุกข์ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป เพราะเห็นความจริงของสัจธรรม (อริยสัจ ๔) อริยสัจ ๔

  • ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ทุกอย่างในโลกล้วนแล้วแต่มีความทุกข์ การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย เป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น
  • เหตุแห่งทุกข์ คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์ ความอยากในกามคุณ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส กามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ
  • ความดับทุกข์ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง คือ นิพพาน พ้นจากการเกิด ไม่มีภพชาติอีกต่อไป
  • แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ คือ มรรค ๘ ข้อปฏิบัติ ๘ ประการ เพื่อถึงความพ้นทุกข์ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง
ทำไมต้องนับถือศาสนาพุทธ?
เพราะเป็นศาสนาที่ทำให้เราพ้นทุกข์ได้จริง ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งความจริง สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง เมื่อเห็นแล้วจึงเรียกบอกผู้อื่นให้มาดูว่าเป็นจริงดังที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ทุกประการ เราจะเห็นความจริงเหล่านั้นได้อย่างไร เห็นตอนไหน

เราจะเห็นได้ตามนั้น เมื่อเราปฏิบัติตาม มรรค ๘ เมื่อปฏิบัติได้ครบถ้วนจนมี "ญาณแก่กล้า" ที่จะสามารถบรรลุ มรรคผลนิพพานได้ในแต่ละมรรค เช่น โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกทาคามีมรรค สกทาคามีผล อนาคามีมรรค อนาคามีผล อรหัตมรรค อรหัตผล หากเราสามารถบรรลุธรรม เหล่านี้ได้เราจะเห็นตามความจริง ตามธรรมชาติที่มันเป็นเช่นนั้นเอง เราจะเห็นจะรู้ว่าทุกสรรพสิ่งนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เป็นธรรมดาของธรรมชาติ ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ เหมือนเช่นครูบาอาจารย์ที่ท่านสามารถปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนสามารถรู้แจ้งเห็นจริง บรรลุธรรม บรรลุนิพพาน พระสาวกเหล่านั้นท่านได้เห็นพระธรรมคุณ
 พระธรรมคุณ

  • พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
  • เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
  • เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
  • เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
  • เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
  • เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
เมื่อเราปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว เราจะเห็นตามความเป็นจริงของลักษณะที่เป็นธรรมดาตามธรรมชาติแห่งสังขารทั้งหลาย (ไตรลักษณ์)1 อนิจจัง ความไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงไป ไม่คงที่ ตัวอย่างเช่น ทุกคนมีเกิด จากนั้นก็แก่ แล้วก็เจ็บป่วย สุดท้ายคือล้มตายไป ไม่สามารถคงสภาพได้เลย คล้ายกับ วันหมดอายุในข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งพอผลิตขึ้นมาแล้วนั้น จะตีตราวันที่หมดอายุไปเลยเพราะมันไม่สามารถอยู่คงที่ตลอดไปได้นั่นเอง แต่คนเราและสัตว์ต่างๆ มีอายุที่ไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นไปตามกำลังบุญของแต่ละคน
 2 ทุกขัง ความทุกข์ มีสภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ มีลักษณะหรือ มีอาการที่ทนอยู่ไม่ได้ จำต้องเสื่อมสลายสิ้นไป โดยมีความบีบคั้นอยู่เสมอ ทุกขัง ในที่นี้มิได้หมายความแต่เพียงว่าเป็นความทุกข์กายทุกข์ใจเท่านั้น แต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขังในที่นี้ สรรพสิ่ง ทั้งหลาย
 3 อนัตตา ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ ความไม่มีตัวตนที่แท้จริง เพราะทุกสรรพสิ่งเกิดขึ้นมาจากเหตุปัจจัยและดับไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีแก่นสารตัวตนใดๆ อยู่เลย อ่านเพิมเติ่ม
บรรลุนิพพาน บรรลุธรรม ดวงตาเห็นธรรม ประจักษ์แจ้งพระนิพพาน มรรคผลนิพพานมีจริงอนุปุพพิกถา ๕ และ อริยสัจ ๔ การศึกษาตามลำดับลุ่มลึกลงสู่การพ้นทุกข์๖ ขั้นตอนสู่การบรรลุนิพพาน-guidelineนิพพานธาตุโพชฌงค์อายตนะขันธ์โพธิปักขิยธรรมสังโยชน์ไตรลักษณ์ปฏิจจสมุปบาทอินทรีย์อริยสัจ ๔กรรมวัฏฏะ
วิวัฏฏะมหาสุญญตาสูตรอรูปพรหมภูมิ ๔รูปพรหมภูมิ ๑๖อบายภูมิ ๔ - เดรัจฉานภูมิอบายภูมิ ๔ - อสุรกายภูมิอบายภูมิ ๔ - เปตภูมิอบายภูมิ ๔ - นรกภูมิกามสุคติภูมิ ๗ - สวรรค์ ๖ภพภูมิของสัตว์โลก ๓๑ ภูมิวัฏสงสาร สังสารวัฏ สงสารวัฏวิสุทธิ ๗
มัคคสมังคี มรรคสมังคีบันได ๑๐ ขั้น สู่อรหันต์สติปัฏฐาน ๔วิปัสสนากัมมัฏฐานสมถกัมมัฏฐานวิปัสสนาญาณ ๙วิปัสสนาญาณ ๑๖มรรคมีองค์ ๘ความสุขที่แท้จริงโสดาบันสกทาคามีอนาคามีพระอรหันต์ ๔ ประเภทพระอรหันต์


 

สถานที่รับซื้อเพชร | ตั้งชื่อ | รับซื้อเพชร | รับซื้อทองเชียงราย | รับซื้อทอง | รับซื้อเพชร | ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ | เช่าคอนโด | ขายคอนโด | jaifoo.co